แห่คัวตานล้านนา…ภูมิปัญญาคนเมืองโพง
ประเพณีแห่คัวตานล้านนา เป็นงานมหกรรมขบวนแห่ครัวตานล้านนา อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน มหกรรมขบวนแห่ครัวตานล้านนา หรือประเพณีแห่ครัวตาน งานฉลองวัด (งานฉลองสมโภชน์ อุโบสถ วิหาร กุฏิสงฆ์ และศาลาการเปรียญธรรม ฯ ลฯ) ประเพณีงานฉลองวัด เป็นวัฒนธรรมที่ชาวอำเภอสันติสุข ได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่ สมัยดึกดำบรรณ เมื่อถึงเทศกาลงานฉลองวัด คณะศรัทธาวัดที่เป็นเจ้าภาพจะมีการเตรียมงานอย่างยิ่งใหญ่ เช่น การจัดให้มีการตกแต่งอาคารสถานที่ ประดับธงชาติและธงเสมาธรรมจักร จัดงานเฉลิมฉลองสมโภชน์ คณะศรัทธาวัดต่าง ๆ จะร่วมมือร่วมใจในการจัดขบวนแห่ครัวตาน นับเป็นขบวนที่มีความยิ่งใหญ่อลังการที่สุด เป็นสิ่งชี้ให้เห็นถึงความเลื่อมใสศรัทธา ในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และความสมานสามัคคีที่หาที่ไหนเหมือนไม่มี เป็นประเพณีและวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์รักษาไว้ ให้อยู่คู่กับสังคมชาวอำเภอสันติสุข สืบไป อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษาไว้ซึ่งศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญหาท้องถิ่น ให้คงอยู่สืบไปชั่วลูกชั่วหลาน จึงได้ยึดถือสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
นอกจากนี้โรงเรียนในอำเภอสันติสุข นำทีมโดย นางสินีนาฏ ทองบ้านทุ่ม ประธานกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอสันติสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ประกอบด้วย โรงเรียนป่าแลวหลวงวิทยา โรงเรียนห้วยแฮ้ว โรงเรียนบ้านดู่พงษ์ และโรงเรียนราษฎร์รัฐพัฒนา ได้เป็นโรงเรียนนำร่อง นำเอาหลักสูตร รักษ์ป่าน่าน โดยมีคณะครูที่เป็นแกนนำเป็นคณะทำงาน ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการออกแบบกิจกรรมและกระบวนการดำเนิน กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชนตามที่คาดหวัง ซึ่งนำมาเป็นเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกหลักสูตรให้แก่เด็กและเยาวชนที่เชื่อมโยงไปสู่จุดมุ่งหมายของหลักสูตรรักษ์ป่าน่าน นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมความร่วมมือของโรงเรียนกับชุมชน ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนในระดับประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่สำคัญของการมีพัฒนาการในการเรียนรู้ด้านต่างๆ ทำให้มีจิตสำนึกในการดูแลรักษาป่าไม้ แหล่งต้นน้ำ ให้มีความคงอยู่ต่อไป
ขอขอบคุณ ภาพโดย : พิพัฒน์ พังจันทร์ตา
แหล่งข้อมูลโดย : ปริญญา แสนดวงแก้ว
การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน โดยการนำหลักสูตรรักษ์ป่าน่านไปใช้
1.การจัดกิจกรรมระดมความคิด ผูกมิตรกับป่าน่าน
2.กิจกรรมความร่วมกับชุมชนในการจัดทำขบวน ของนักเรียน
3.กิจกรรมเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. ผู้บริหาร และคณะครู พลังขับเคลื่อนการนำหลักสูตรรักษ์ป่าน่านไปใช้