วิถีพอเพียงผ่านไผ่มหัศจรรย์ (Sufficiency ways toward Wonderful Bamboo)

ไผ่พืชแสนมหัศจรรย์เกิดหลากหลายผลิตภัณฑ์สู่วิถีชีวิตพอเพียงของชุมชนตำบลน้ำมวบใต้เงาเทือกเขาหลวงพระบาง: ส่วนของใบ (ชาใบไผ่ ไอศกรีมชาใบไผ่ กาละแมชาใบไผ่ ขนมเปียกปูนชาใบไผ่ ส่วนของลำต้น (เครื่องจักสาน เก้าอี้ โต๊ะ แก้วไม้ไผ่ เฟอร์นิเจอร์ หงส์ส่งสวรรค์) ส่วนของหน่อไม้ (เฟรนฟรายด์หน่อไม้ ซุปหน่อไม้ ส้มตำหน่อไม้ทอดกรอบ หน่อไม้ปิ้งหลากรส หน่อไม้ดอง ขนมเทียนหน่อไม้ แหนมหน่อไม้ หน่อไม้หยอง น้ำพริกหน่อไม้ดอง)  ส่วนของผลิตภัณฑ์จากถ่านไผ่(ซาโคล) แชมพู ครีมนวด สบู่ ไอศกรีมชาโคล  กาละแมชาโคล ขนมเปียกปูนชาโคล ตุ๊กตาดูดกลิ่นชาโคล ขนมจีนเส้นสดชาโคล) ผลการจัดกิจกรรมจากหลักสูตรรักษ์ป่าน่านตามโครงการรักษ์ป่าน่าน ผ่านกิจกรรมบูรณาการส่งเสริมจิตอนุรักษ์ในรายวิชา(กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ) กิจกรรมนักเรียน(เพิ่มเวลารู้  กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือ) กิจกรรมเสริมหลักสูตร (กิจกรรมค่ายรักษ์ป่าน่าน กิจกรรมชวนพ่อปลูกป่า กิจกรรมห้องสมุด) โดยมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้น Active Learning (8 Steps ; Set the gold   Partnership   Professional Learning   Searching for information    Construct knowledge    Action learning   Presentation    Authentic Assessment) ผ่านฐานการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมจิตอนุรักษ์ได้แก่ หน่วยป่าไม้ ผู้แทนชุมชน กลุ่มฮักน้ำมวบ  อบต.น้ำมวบ และหน่วยจัดการต้นน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาขับเคลื่อนและเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบเรียนรู้เกิดทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ควบคู่กับคุณลักษณะด้านจิตอนุรักษ์ มีการจัดทำโครงงานโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research Based learning) เกิดโครงงาน “วิถีพอเพียงผ่านไผ่มหัศจรรย์ สู่ชุมชนน้ำมวบใต้เงาเทือกเขาหลวงพระบาง” จนได้รับรางวัลระดับประเทศ

นวัตกรรมที่ค้นพบนวัตกรรมที่โดดเด่นที่สามารถพัฒนา สู่นวัตกรรมต้นแบบ คือ การจัดกิจกรมการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง มีความกระตือรือร้น (๘ Steps) โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยความร่วมมือของเครือข่าย ความร่วมมือและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง Activity Based Learning กิจกรรมเป็นฐาน เทคนิค RCA (Reflect Connect Apply) ถอดบทเรียนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ) โดยมีปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ คือ ต้นทุนของชุมชนที่มี เช่น ต้นไผ่เป็นทรัพยากรในชุมชน ที่นำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย นำสู่หลักสูตรสถานศึกษาได้ ทั้งบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เครือข่ายความร่วมมือเป็นต้นทุนทางสังคมที่สำคัญ เช่น ภาคีเครือข่ายสร้างป่าสร้างรายได้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่ กลุ่มขยายพันธุ์ไผ่ มีศูนย์การเรียนรู้เพื่อเพาะและขยายเมล็ดพันธุ์ กลุ่มวิสาหกิจแปรรูป ซึ่งนับว่าเป็นความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนให้ประสบผลสำเร็จ สู่วิถีชีวิตพอเพียงขยายผลสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จได้แก่ ๑. ด้านการบริหารจัดการ (งบประมาณ บุคลากร) ผู้อำนวยการโรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ในความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่นั้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง (Active Learning) เน้นการสร้างจิตสำนึกตามโครงการรักษ์ปาน่านมีรูปแบบการจัดกิจกรรมเน้นจิตอนุรักษ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ASK Model (Attitude Setting    Skills    Knowledge management) มีเครื่องวัดประเมินผลจิตอนุรักษ์ที่ชัดเจนผ่านการหาประสิทธิภาพ ประสานความร่วมมือจากเครือข่ายความร่วมมือทั้งเรื่องการเป็นวิทยากร งบประมาณ การจัดการร่วมกัน เกิดพลังความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนด้านวิชาการ (การจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมนักเรียน) การพัฒนาครูในโรงเรียน โดยการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนเป็นแบบ Active Learning ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Activity Based Learning เกิดโครงงานของนักเรียน นักเรียนได้สรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง ต้านเครือข่ายแลขุมชน การมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ต้นแบบของคนในชุมชนที่เข้มแข็ง มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาหมูบ้านและร่วมมือกับโรงเรียนนับเป็นตันทุนทางสังคมที่สำคัญ เช่นศิษย์เก่าของโรงเรียน นายนพดล วังศรี พนักงานบริษัทที่กรุงเทพมหานครตัดสินใจกลับมาทำงานที่บ้าน สานฝันปลูกป่า ประสานงานกับหน่วยงานกรมอุทยานป่าไม้ ร่วมมือกับชุมชน เกิดเป็นชุมชนกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่ขยายพันธุ์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไผ่ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานป่าไม้ก็ให้การสนับสนุนพันธุ์ไม้ กล้าไม้ มาช่วยสอนหนังสือ จัดกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ จัดกิจกรรมค่าย นำพานักเรียนศึกษาพันธุ์ไม้ มีการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้จากไผ่มหัศจรรย์สู่พืชชนิดอื่นๆที่มีในชุมชน นับเป็นการสร้างรายได้ สร้างชุมชนไห้เห็นประโยคจากป่า ซึ่งเปรียบได้กับซุปเปอร์มาร์เกตของชุมชน 2. มีรูปแบบการบริหารจัดการในการบูรณาการนวัตกรรมหรือโครงการอื่นๆกับโครงการรักษ์ป่าน่าน ๒.๑ มีรูปแบบการจัดกิกจรรมส่งเสริมจิตอนุรักษ์ (Ask model)  ๒.๒ นำหลักสูตรรักษ์ป่าน่าน (ของ สศจ.น่าน) มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชมชน 2.๓ การจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยความหลากหลายทางชีวภาพ หน่วยป่าน่านในอนาคต (ป่าน่านในฝัน) กลุ่มสาระการเรียนรู้สาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒธรม (หน่วยน่านเมืองเก่ามีชีวิต)

2.๔ จัดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น ชุมนุมแปรรูปอาหารสร้างรายได้(หน่วยศาสตร์พระราชาสู่การ

พัฒนาที่ยั่งยืน ) 2.๕ กิจกรรมเพิ่มเวลารู้ เช่น หน่วยป่าไม้ในเมืองน่าน หน่วยน่านเมืองตันน้ำ หน่วยรักษ์

ป่าน่าน หน่วยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 2.๖ กิจกรรมตอบปัญหาห้องสมุด เช่น หน่วยแผนยุทธศาสตร์กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย 2.๗ ค่ายรักษ์ป่าน่าน จัดกิจกรรมรักษ์ป่าน่านร่วมกับหน่วยป่าไม้และหน่วยจัดการตันน้ำ 3.รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานภาคีเครือข่ายกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายความร่วมมือ โดยการ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมติดตามและร่วมประเมินและร่วมชื่นชมและภาคภูมิใจ

  1. ผลการดำเนินงาน การดำเนินงานตามกิจกรรมข้างต้นส่งผลให้เกิดผลงานที่ภาคภูมิใจ ได้แก่

4.1 โรงเรียนเป็นต้นแบบด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเรียนการสอนได้รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง รางวัลทรงคุณค่า สพฐ.( OBEC AWARDS) สถานศึกษายอดเยี่ยมประเภทมัธยมศึกษาขนาดเล็กปีการศึกษา 2561

4.2 โรงเรียนตันแบบพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สู่การเป็นนักผลิตบนวิถีพอเพียงผ่านไผ่มหัศจรรย์ รางวัลครุ

สภา หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ปีการศึกษา 2560

4.3 ครูผู้สอนเป็นแบบอย่างการจัดกิจกรมนักเรียนด้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเรียนจีดการเรียนการสอนรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง รางวัลทรงคุณค่า สพฐ( OBEC AWARDS)

4.4 นักเรียนเป็นตันแบบการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการทำโครงงานที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน

” โครงานวิถีพอเพียผ่านไม่มหัศจรย์ สู่ชมขนน้ำมวบใต้เงาเทือกเขหลวงพระบาง ” ได้รับรางวัล

รองชนะเลิศ โครงการ”กรุงไทยตันกล้าสีขาวปีที่ 12 ”

๔.๕ ได้รับรางวัลระดับดีเด่นในการจัดกิจกรรมแบบ Active Learning ตามโครงการรักษ์ป่าน่าน ของ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดน่าน

  1. นวัตกรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยสืบสานอย่างยั่งยืน

๕.๑  รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่โรงเรียนพัฒนาและจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนโดยใช้รูปแบบ ๘ Steps

๕.๒  รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตอนุรักษ์ ASK Model

๕.๓ การจัดกิกจรรมโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research Based Learning)

๔.๔ การพัฒนาเครื่องมือประเมินจิตอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการประเมินจิตอนุรักษ์อย่างครอบคลุมรอบด้านและวัดได้จริง

Leave a Reply

Your email address will not be published.